การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

สืบเนื่องจากพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่า สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่พัฒนา ความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข่าวสารข้อมูลและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานะการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการได้ถูกต้อง รวดเร็วเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัมนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกันมหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้คณะทุกคณะดำเนินการจัดการความรู้เพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ 2ยุทธศาสตร์ และกำหนดขอบเขต KM ยุทธศาสตร์ละ 1 สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนจึงได้กำหนดขอบเขตการจัดการ ความรู้เป็น 2 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพและมาตราฐานการบริหารและการจัดการภายในองค์กรมีการจัดการความรู้เรื่องการพัฒนางานจัดซื้อ จัดจ้าง และยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนามีการจัดการความรู้เรื่อง การพัฒนาคุณภาพงานวิจัย โดยการกำหนดขอบเขตเกิดจาก กระบวนการ มีส่วนร่วมของอาจารย์และพนักงานสายสนับสนุนของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน นโยบายการจัดการความรู้ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- พัฒนาให้สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ของนักศึกษา
- จัดใหสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เป็นจุดศูนย์กลางในการจัด กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้

การแลกเปลี่ยนความรู้

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาองค์กรไปสู่การเรียนรู้การเป็นองค์องค์กรแห่งการเรียนรู้ดังนั้น การจัดการ ความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อัตรายที่จะ เกิดตามมา คือ การจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมา คือ การจัดการความรู้เป็นเป้าหมายความผิดพลาดก็เริ่ม เดินเข้ามา อันตรายที่เกิดตามมา คือการจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเองแรงจูงใจในการริเริ่ม การจัดการความรู้แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จ ในการจัดการความรู้แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการหาความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การทำการจัดการความรู้แบบเทียม และ นำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด กล่าวคือ ทำเพียงเพื่อให้เชื่อว่าทำ หรือทำเพื่อชื่อเสียง ทำให้ ภาพลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือ มาจากความต้องการผลงานผลงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร เช่น หน่วยพัฒนาบุคลากร หน่วยสื่อสารและสารสนเทศ หรือหน่วยพัฒนาองค์กร ต้องการใช้ ในการจัดการความรู้ในการสร้างความเด่นหรือสร้างผลงานของตน หรืออาจมาจากคนเพียงไม่กี่คน ที่ชอบของเล่นใหม่ ๆ ชอบกิจกรรมที่ดูทันสมัยเป็นแฟชั่น แต่ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการดำเนินการจัดการความรู้อย่างแท้จริงประเภทความรู้ความรู้อาจแบ่งใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ 1) ความรู้เด่นชัด เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสารหรือวิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน 2) ความรู้ซ่อนเร้นเป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญาการวิจัยกับการจัดการความรู้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ชื่อเดิมคือ โรงพยาบาลเด็ก) จัดประชุมนำเสนอโครงการ Teenage จัดประชุม นำเสนอโครงการวิจัยในชุด Teenage Pregnancy มีโครงการวิจัยที่สามารถเอาวิธีการจัดการความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จึงเอามาเล่าสู่การฟังโครงการที่น่าสนใจนี้ ชื่อ อัตราการตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นลดลง หัวปลา (เป้าหมาย) ของโครงการนี้คือ ลดอัตราการตั้งครรภ์ของหญิงที่อายุน้อยกว่า 20 ปี วิธีการที่คณะผู้วิจัยจะใช้คือ สอนวิชาทักษะชีวิต (Life skill), แนะแนว การวางแผนชีวิต, อบรมการเลี้ยงดูทารกและให้คำปรึกษาวิธีการวางแผนครอบครัว 15 ชั่วโมง แก่การตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ปีที่มาคลอดที่ รพ.ราชวิถีหวังผลให้หญิงเหล่านี้ทอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ซ้ำเป็น 3 ปีขึ้นไป เป็นการให้ความรู้เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศ ดูผลลัพธ์ที่การตั้งครรภ์ซ้ำ ว่าทอดระยะออกไป หรือไม่ เพียงใดผมได้ให้ความเห็นต่อที่ประชุมว่าสามารถทำงานเพื่อลดการตั้งครรภ์ซ้ำของหญิงที่อายุน้อยกว่า20 ปีได้โดยวิธีการใช้วิธีการ KM คือ ใช้และใช้ แนวความคิดว่า "ความรู้เพื่อไม่ให้ตั้งครรภ์ซ้ำในคนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 128 คน พบ 14 คน ที่การตั้งครรภ์ซ้ำห่างออกไป 4 ปี หรือมากกว่า แสดงว่าคน 14คนนี้ คือ คนที่มีความสำเร็จในการป้องกันไม่ให้มีการตั้งครรภ์ซ้ำคือเป็นผู้มีความรู้เพื่อผลสำเร็จในการบรรลุ "หัวปลา" (เป้าหมายป้องกันการตั้งครรภ์) การจัดการ ความรู้ ทำโดยเอารู้มีความรู้มาทำกระบวนการ Peer Assist (เพื่อนช่วยเพื่อน) ในกรณีนี้ก็เอาคนจำนวนหนึ่งใน 14 คนนี้ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับหญิงอายุต่ำกว่า 20ปี ที่มาคลอดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ โดยจัดให้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มไม่ใช่ระหว่าง ปัจเจกบุคคลและ ใช้เครื่องมือ "ธารปัญญา" นักวิจัยบันทึก "ขุมความรู้" เพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์และติดตามผลการป้องกันการตั้งครรภ์ และติดตามผลการป้องกันการตั้งครรภ์ เขียนรายงานออกมาเป็นผลการ"พัฒนาและวิจัย" เพื่อการป้องกันปัญหา และแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก Teenage Pregnancy ที่ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง กลุ่มผู้เคยเผชิญปัญหา และมีผลสำเร็จในการแก้ไข กับกลุ่มที่กำลังเผชิญปัญหามิได้มากมายหลากหลายโจทย์ดังนั้น ในการจัดประชุม ระดมความคิดแลกเปลี่ยน เรียนรู้แบบ KM จึงต้องทำการเตรียมการณ์ให้ดี ให้ group facllitator ได้เข้าใจประเด็นนี้ และหาทางเพราะจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมผลัดกัน ตีความทีละคน เพื่อหาว่า มีความรู้อะไรบ้างที่อยู่ในความสำเร็จนั้นและอยู่ในวิธีทำงาน ที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้น ถ้ามีสมาชิกกลุ่ม 10 คน ก็จะมีผลการตีความ 9 ชิ้น (จากผู้ฟัง 9 คน เพราะเป็นเรื่องเล่าเรื่องเสีย 1 คน) เมื่อเอาผลการตีความทั้ง 9 ชิ้นมาเปรียบเทียบกัน ก็จะพบมีส่วนหนึ่งสมาชิกสมาชิกตีความต่างกัน นี่คือส่วนสำคัญ เมื่อเอาส่วนนี้ มาอภิปรายทำความชัดเจน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีคิด วิธีตีความ ในที่สุดก็จะเกิดการยกระดับความรู้ขึ้นไป โดยที่ความรู้นั้นเป็นความรู้ที่มาจากงาน หรือการปฏิบัติ นี่คือการสร้างความรู้จากการปฏิบัติ เป็นวิธีสกัดความรู้ ที่ซ่อนอยู่ในการกระทำออกมาโดยการนำเสนอแบบข้อมูลดิบ ที่ไม่ใช่ข้อมูลเชิงปริมาณ แต่เป็นข้อมูล เชิงพฤติกรรมหรือการกระทำหรือ กิจกรรม แล้วให้ข้อมูลนั้นได้รับการตีความโดยอิสระจากคนที่เป็นกัลยามิตร แต่มีมุมมองที่แตกต่างกัน ให้ได้ ผลการตีความ ที่หลากหลายแล้วเอาความหลากหลายนี้มาสร้างคุณค่าต่อเนื่องหรือยกระดับความรู้ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อ